เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก: นักเรียนเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องราวจากวรรณกรรม “ สายลมกับทุ่งหญ้าได้อย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจความหมายของคำหรือวลีที่ผู้แต่งที่ต้องการสื่อ เชื่อมโยงกับหลักภาษาชนิดของคำและประโยค รวมทั้งสามารถจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน การแต่งเรื่องราวใหม่ การตีความอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เห็นคุณค่าและมีนิสัยรักการอ่าน

week2

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย

ภาคเรียนที่  ๑  Quarter ๑ ปีกศึกษา๒๕๕๙๘                                                                               ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
สัปดาห์ที่  ๒  วันที่   ๑๘ ๒๓ พ.ค. ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรม สายลมกับทุ่งหญ้า                                                                       เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
........................................................................................................................................................................................................................
หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  : ตอนในอ้อมกอด และตอนในทุ่งกว้าง
สาระสำคัญ :     วรรณกรรมเยาวชนหรือวรรณกรรมเด็ก มีการดำเนินเรื่องที่เป็นบทสนทนามากกว่าคำบรรยายยืดยาว ทำให้เด็กไม่เบื่อ การเรียงลำดับเรื่องราวที่ดีทำให้เด็กสามารถติดตามเรื่องราวได้ง่ายไม่สับสนวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง สายลมกับทุ่งหญ้า ว่าด้วยเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่างตากับหลานคู่หนึ่ง
Big  Question :นักเรียนจะดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขได้อย่างไร

เป้าหมายย่อย : นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนมาตรตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome






จันทร์
โจทย์
ในอ้อมกอดและตอนในทุ่งกว้าง
คำถาม:
- นักเรียนจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรม สายลมกับทุ่งหญ้าตอน ในอ้อมกอดและตอนในทุ่งกว้าง


ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทาย ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมในวันหยุดให้นักเรียนฟัง
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
  นักเรียนวาดภาพประกอบเรื่องนกฉลาดตามจินตนาการ
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แผนภาพโครงเรื่อง
ความรู้
-คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
-วัฒนธรรมการกินที่แตกต่างหลากหลาย
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
- ทักษะการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-ทักษะการเขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน











































Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome

 อังคาร





โจทย์
 การใช้มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา
คำถาม:
- นักเรียนจะใช้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราให้เกิดประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (ตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรม สายลมกับทุ่งหญ้าตอน ในอ้อมกอดและตอนในทุ่งกว้าง



ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
-  ครูติดบัตรคำศัพท์มาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราจากวรรณกรรม สายลมกับทุ่งหญ้าตอน ในอ้อมกอดและตอนในทุ่งกว้าง
-  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบนกระดาน” นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-  “นักเรียนจะจัดหมวดหมู่อย่างไร” นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่ของคำศัพท์บนกระดานตามความเข้าใจ
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำศัพท์จากมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรมมาตราบนกระดาน ผ่านคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนเห็นความแตกต่างและความเหมือนของคำศัพท์เหล่านี้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการอ่านออกเสียง ความหมายของคำศัพท์ และการนำคำศัพท์ไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะคำศัพท์เพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนนำคำศัพท์ไปใช้ในการแต่งเรื่องตามจินตนาการ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนแต่งเรื่องใหม่จากคำศัพท์ในเรื่องที่อ่าน
ความรู้
-คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์
แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-ทักษะการเขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น 













































Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome




 พุธ





โจทย์
 การใช้มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา
คำถาม:
- นักเรียนจะใช้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราให้เกิดประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (ตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
- Wall Thinking ผลงานภาพประกอบคำศัพท์
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรม สายลมกับทุ่งหญ้าตอน ในอ้อมกอดและตอนในทุ่งกว้าง


ขั้นนำ
ครูพานักเรียนเล่นเกม ๒๐คำถาม (ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา)
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนคิดว่าวรรณกรรม สายลมกับทุ่งหญ้าตอน ในอ้อมกอดและตอนในทุ่งกว้างมีมาตราตัวสะกดใดบ้าง และจะนำไปใช้อย่างไร
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน แต่ละกลุ่มช่วยกันหาคำศัพท์จากมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำศัพท์ที่ได้จากเรื่องที่อ่าน
ใช้:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกคำศัพท์แต่ละมาตราไม่ซ้ำกัน
- ครูแจกกระดาษวาดภาพขนาดครึ่ง A4 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มละ ๕ แผ่นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบภาพประกอบคำศัพท์
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอชิ้นงานภาพประกอบคำศัพท์ให้ครูและเพื่อนฟัง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อสื่อความหมายของคำศัพท์
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำคำศัพท์ไปใช้ในการวาดภาพสื่อความหมาย
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
ภาพประกอบคำศัพท์ (ออกแบบใหม่)
ความรู้
-คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบคำศัพท์
แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-ทักษะการเขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น











































Day
(วัน)

Input

Process  กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome




พฤหัสบดี









โจทย์
 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้ผู้อื่นเข้าใจ
คำถาม:
- นักเรียนจะใช้ตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราให้เกิดประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (ตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยค แต่งเรื่องจากตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
- Wall Thinking ผลงานภาพประกอบคำศัพท์
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยน ทบทวน เกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
-Mind Mapping สรุปองค์ความรู้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
   - วรรณกรรม สายลมกับทุ่งหญ้าตอน ในอ้อมกอดและตอนในทุ่งกว้าง



ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากวรรณกรรม สายลมกับทุ่งหญ้าตอน ในอ้อมกอดและตอนในทุ่งกว้าง จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้เป็น Mind Mapping
ขั้นสรุป
  ครูสุ่มให้นักเรียนนำเสนอผลงาน๕-๖ คน


ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์เพื่อสื่อความหมายของคำศัพท์
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำคำศัพท์ไปใช้ในการวาดภาพสื่อความหมาย
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
Mind Mapping การเรียนรู้จากนิทานเรื่อง นกฉลาดและมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรา
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน มาตราตัวสะกดตรง และไม่ตรงมาตรา
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงาน และ
แผนภาพโครงเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน
- ทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-ทักษะการเขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
- ทักษะการสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น 



























































ตัวอย่างชิ้นงาน








1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ป๔ ได้เรียนรู้หลักภาษาเรื่องมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราผ่านการอ่านวรรณกรรมเรื่องสายลมกับทุ่งหญ้า ตอนในอ้อมกอด ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกัน อ่านคนเดียว อ่านในใจ หลังจากที่อ่านเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดทบทวนเรื่องที่อ่าน ตัวละครมีใครบ้าง เหตุการณ์ในเรื่อง ข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมเรื่องสายลมกับทุ่งหญ้า ตอนในอ้อมกอด หลังจากนั้นพี่ป.๔ สรุปเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง ในชั่วโมงต่อมาครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าวรรณกรรม สายลมกับทุ่งหญ้าตอน ในอ้อมกอดและตอนในทุ่งกว้างมีมาตราตัวสะกดใดบ้าง และจะนำไปใช้อย่างไร” นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน แต่ละกลุ่มช่วยกันหาคำศัพท์จากมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตรานักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำศัพท์ที่ได้จากเรื่องที่อ่าน ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำมาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราแต่งเป็นนิทานและนำเสนอให้ครูและเพื่อนๆรับฟัง

    ตอบลบ