เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก: นักเรียนเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องราวจากวรรณกรรม “ สายลมกับทุ่งหญ้าได้อย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจความหมายของคำหรือวลีที่ผู้แต่งที่ต้องการสื่อ เชื่อมโยงกับหลักภาษาชนิดของคำและประโยค รวมทั้งสามารถจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน การแต่งเรื่องราวใหม่ การตีความอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เห็นคุณค่าและมีนิสัยรักการอ่าน

week10

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter  1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                     ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
สัปดาห์ที่  ๑๐  วันที่  ๑๓– ๑๗ กรกฎาคม   ๒๕๕๘                                                                         เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า

......................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :    ตอน  การกลับมาเยี่ยมบ้าน  ตอนการพลัดพรากและวันอำลา
สาระสำคัญ :                บ้านเป็นสถานที่สำคัญของใครหลายๆ คน เพราะเป็นที่ที่เราคุ้นเคยและมีความรักความอบอุ่นของคนในครอบครัวที่มอบให้กัน และไม่มีที่ไหนที่จะสุขใจไปกว่าบ้านของเรา
Big  Question :             เพราะเหตุใดเวลาที่มีความสุข จึงเป็นช่วงเวลาที่แสนสั้น?   
เป้าหมายย่อย :          นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารอ่านและเขียนและนำคำพ้องรูปพ้องเสียงไปประยุกต์ใช้ได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







โจทย์
 อ่านวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน
  การกลับมาเยี่ยมบ้าน และ ตอนการพลัดพรากและวันอำลา

คำถาม:
เพราะเหตุใดเวลาที่มีความสุข จึงเป็นช่วงเวลาที่แสนสั้น?
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน  การกลับมาเยี่ยมบ้าน และ ตอนการพลัดพรากและวันอำลา

ขั้นนำ
ครูล่าเรื่องการกลับไปเยี่ยมบ้านในช่วงปิดเทอมให้นักเรียนฟัง
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและให้คำนิยามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในแง่มุมใหม่ต่างจากเรื่องที่อ่าน
ใช้:
  นักเรียนเขียนสรุปแผนภาพโครงเรื่องวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน  การกลับมาเยี่ยมบ้าน
 ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แผนภาพโครงเรื่อง

ความรู้
-คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
- อ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-เขียนสรุปองค์ความรู้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน

Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome






โจทย์
 การใช้คำพ้องรูปพ้องเสียง

คำถาม:
- นักเรียนจะใช้คำพ้องรูป พ้องเสียงอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (คำพ้องรูป พ้องเสียง)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยค คำพ้องรูป พ้องเสียง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำพ้องรูป พ้องเสียง


บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน  การกลับมาเยี่ยมบ้าน และ ตอนการพลัดพรากและวันอำลา

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่อ่าน นักเรียนช่วยกันทบทวน สรุปเรื่องอีกครั้ง
ขั้นสอน
ชง:
- ครูเขียนคำพ้องรูป พ้องเสียงบนกระดาน โดยใช้คำที่มาจากหนังสือที่นักเรียนอ่าน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร นักเรียนช่วยกันสนทนาแสดงความคิดเห็น และหาความหมายของคำพ้องรูป พ้องเสียงบนกระดาน
เชื่อม:
- นักเรียนคิดช่วยกันวิเคราะห์ลักษณะของคำพ้องรูป พ้องเสียง ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
- นักเรียนช่วยกันเสนอคำพ้องรูปพ้องเสียง ครูช่วยเขียนคำบนกระดาน
ใช้:
นักเรียนแต่งประโยคคำพ้องรูป พ้องเสียงพร้อมวาดภาพประกอบจากคำศัพท์บนกระดาน
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอผลงานการแต่งประโยคจากคำพ้องรูปพ้องเสียง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้

ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งประโยคคำพ้องรูปพ้องเสียง
ความรู้
-คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน คำพ้องรูป พ้องเสียง
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อนๆ
-เขียนแต่งประโยค
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน

Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome









โจทย์
 การใช้คำพ้องรูปพ้องเสียง

คำถาม:
- นักเรียนจะใช้คำพ้องรูป พ้องเสียงอย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม (คำพ้องรูป พ้องเสียง)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยค คำพ้องรูป พ้องเสียง
- Wall Thinking ผลงานแผนภาพโครงเรื่อง
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำพ้องรูป พ้องเสียง

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน  การกลับมาเยี่ยมบ้าน และ ตอนการพลัดพรากและวันอำลา

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำพ้องรูป พ้องเสียงและการนำไปใช้ จากการเรียนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

ขั้นสอน
ชง:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คำพ้องรูป พ้องเสียงใช้อย่างไร”  ครูเขียนคำพ้องรูปพ้องเสียงบนกระดาน
-นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ๕คน และศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำศัพท์บนกระดานทั้งความหมาย และการอ่านออกเสียง จากหนังสือ และพจนานุกรม
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าหาคำพ้องรูป พ้องเสียงเพิ่มเติม
- ครูและนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ลักษณะของคำพ้องรูป การอ่านออกเสียง และการนำคำไปใช้ ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ทุกคนช่วยกันสนทนาแลกเปลี่ยน
- นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ ๕คน วิเคราะห์เกี่ยวกับความหมายของคำ โดยครูร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
ใช้:
 นักเรียนเลือกคำศัพท์คำพ้องรูปพ้องเสียง ๕ คำ แต่งเรื่องตามจินตนาการพร้อมวาดภาพประกอบ
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอผลงานของตนเอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำคำศัพท์ไปใช้ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนแต่งเรื่องเชิงสร้างสรรค์

ความรู้
-การอ่าน และการใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง
-ความหมายของคำศัพท์ใหม่และวิธีการนำไปใช้ในการเขียน การอ่าน และการพูด
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานการเขียนแต่งเรื่อง
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
-เขียนเชิงสร้างสรรค์ การสรุปองค์ความรู้
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการนำคำศัพท์พ้องรูป พ้องเสียงไปใช้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เขียน และสื่อสาร

Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พฤ
โจทย์
 การเขียนสรุปองค์ความรู้
หลักภาษา
-คำพ้องรูป พ้องเสียง (การอ่าน การเขียน การแต่งประโยค การแต่งเรื่อง)
คำถาม:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการนำคำศัพท์ไปใช้ และการเขียนเชิงสร้างสรรค์
- Show and Share การแต่งเรื่องจากคำศัพท์ใหม่
-Brainstorm ความหมายของคำศัพท์พ้องรูป พ้องเสียงและการนำไปใช้ในการแต่งเรื่อง
- Mind Mapping สรุปแผนภาพโครงเรื่องและสิ่งที่ได้เรียนรู้
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน  การกลับมาเยี่ยมบ้าน และ ตอนการพลัดพรากและวันอำลา

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง การแต่งเรื่องตามจินตนาการ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ขั้นสอน
ชง:
- นักเรียนสามารถนำคำพ้องรูป พ้องเสียงไปใช้ได้อย่างไรบ้าง นักเรียนช่วยกันสนทนาแสดงความคิดเห็น

เชื่อม:
- นักเรียนช่วยกันทบทวนและวิเคราะห์ คำพ้องรูป พ้องเสียงว่าใช้อย่างไร

ใช้:
 นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง

ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอผลงานและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทานและคำพ้องรูปพ้องเสียง
 - ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และสิ่งที่ได้เรียนรู้
- วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับความหมายและการนำคำศัพท์พ้องรูป พ้องเสียงไปใช้ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์
- นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แผนภาพความคิดคำพ้องรูป พ้องเสียง

ความรู้
-การใช้คำพ้องรูป พ้องเสียง
-ความหมายของคำศัพท์ใหม่และวิธีการนำไปใช้ในการเขียน การพูด และการอ่านคำพ้องรูป พ้องเสียง
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพความคิด
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
-เขียนเชิงสร้างสรรค์ การสรุปองค์ความรู้
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์คำศัพท์และการนำไปใช้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-ความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เขียน และสื่อสาร
- เป็นนักเรียนรู้ นักคิดสร้างสรรค์

ตัวอย่างชิ้นงาน




































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น