เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก: นักเรียนเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องราวจากวรรณกรรม “ สายลมกับทุ่งหญ้าได้อย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจความหมายของคำหรือวลีที่ผู้แต่งที่ต้องการสื่อ เชื่อมโยงกับหลักภาษาชนิดของคำและประโยค รวมทั้งสามารถจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน การแต่งเรื่องราวใหม่ การตีความอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เห็นคุณค่าและมีนิสัยรักการอ่าน

week9

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter  1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                     ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
สัปดาห์ที่  ๙  วันที่  ๖ – ๑๐ กรกฎาคม   ๒๕๕๘                                                                            เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า

......................................................................................................................................................................................................................................


หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  ตอนเจ้าด่างจากไป
สาระสำคัญ :  การตายเป็นความสมดุลของธรรมชาติ เราไม่อาจรั้งสิ่งใดไว้ได้
Big  Question :    ในขณะที่เรายังมีชีวิต เราจะดำรงชีวิตและดูแลคนรอบข้างเราอย่างไร        

เป้าหมายย่อย :  นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนคำบัน และบรรได้  มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome









โจทย์
อ่านหนังสือวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน  เจ้าด่างจากไป
คำถาม:
เพราะเหตุใดพ่อแม่ ผู้ปกครองจึงอยากให้ลูกหลานได้รับการศึกษาที่ดีหรือเข้าเรียนในเมือง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน (สิ่งที่ได้จากการอ่านนิทาน)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share สิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทานและผลงานภาพประกอบเรื่องที่อ่าน
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับตนเอง
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- หนังสือวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน  เจ้าด่างจากไป
ขั้นนำ
ครูแนะนำหนังสือตอนที่จะใช้เรียนในสัปดาห์นี้
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและให้คำนิยามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในแง่มุมใหม่ต่างจากเรื่องที่อ่าน
ใช้:
  นักเรียนเขียนสรุปแผนภาพโครงเรื่อง และออกแบบตอนจบใหม่
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- อ่านหนังสือวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน นักเรียนในเมือง
- วิเคราะห์สรุปเรื่องที่อ่าน และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้

ชิ้นงาน
 แผนภาพโครงเรื่อง

ความรู้
คำศัพท์และความหมายของคำ(จากเรื่องที่อ่าน)
ทักษะ
-คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่อง หรือแง่มุมใหม่ที่ได้จากการอ่าน 
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานให้ผู้อื่นเข้าใจได้
- รู้บทบาทหน้าที่และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน


Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome






โจทย์
 การใช้คำบัน
 คำถาม:
- นักเรียนจะอ่าน และใช้คำที่มีบัน อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน และคำบัน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำบัน (จะอ่านและนำไปใช้อย่างไร)
- Show and Share การแต่งประโยคจากคำบัน
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน และการใช้คำบัน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- หนังสือวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน  เจ้าด่างจากไป

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้าที่อ่าน นักเรียนช่วยกันทบทวน สรุปเรื่องอีกครั้ง

ขั้นสอน
ชง:
- ครูติดคำ คำบัน บนกระดาน  นักเรียนอ่านคำที่ติดบนกระดานพร้อมๆ กัน
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไร นักเรียนช่วยกันสนทนาแสดงความคิดเห็น และหาความหมายของคำ บัน ๑๐คำ
เชื่อม:
นักเรียนคิดว่าจะสามารถนำคำเหล่านี้ไปใช้แต่งเรื่อง หรือแต่งประโยคได้อย่างไร นักเรียนจะใช้คำเหล่านี้อย่างไร นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม เกี่ยวกับคำ บัน ที่ปัจจุบันไม่พบเห็น เช่น บันเดิน บันกวด บันทึง บันจวบ เป็นต้น
ใช้:
นักเรียนแต่งเรื่องตามจินตนาการจากคำ บัน ๑๐ คำพร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอผลงานการแต่งเรื่องตามจินตนาการของตนเอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้


ภาระงาน
- อ่านคำคำบัน วิเคราะห์และหาความหมายของคำ
- นำเสนอผลงาน

ชิ้นงาน
เขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการ

ความรู้
การใช้คำบัน
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแต่งเรื่องตามจินตนาการ
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการนำเสนอแลกเปลี่ยน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความหมายของคำศัพท์
- เขียนแต่งเรื่องและการวาดภาพ
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- ยอมรับความคิดเห็น เห็นคุณค่า และชื่นชมความสามารถของผู้อื่น
- กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น




Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome









โจทย์
 การใช้คำบรร
 คำถาม:
- นักเรียนจะอ่าน และใช้คำที่มี อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน และ บรร  
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำบรร รร (จะอ่านและนำไปใช้อย่างไร)
- Show and Share การแต่งประโยคจากคำบรร รร
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน และการใช้คำบรร รร
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
-  หนังสือวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน  เจ้าด่างจากไป

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำที่มี บรร จากกาเรียนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “คำ บรร  ใช้อย่างไร”
-นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มละ๕คน และศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำบรร จากหนังสือ และพจนานุกรม
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำ บรร  และการใช้
- ครูและนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ลักษณะของคำ บรร  และคำบันทั่วไปว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ทุกคนช่วยกันสนทนาแลกเปลี่ยน
- นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ ๕คน วิเคราะห์เกี่ยวกับความหมายของคำ โดยครูร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
ใช้:
 นักเรียนเลือกคำศัพท์คำบันและคำที่มี บรร ไม่ซ้ำกัน เพื่อทำบัตรคำศัพท์ติดในชั้นเรียน
ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอผลงานของตนเอง
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้


ชิ้นงาน
บัตรคำบันและคำ บรร

ภาระงาน
-แบ่งกลุ่ม ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำบรร
- อ่านคำคล้องจอง คำบัน วิเคราะห์การใช้บัน และ บรร เขียนคำศัพท์และหาความหมายของคำ
ความรู้
การใช้คำบัน

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบบัตรคำ
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการนำเสนอแลกเปลี่ยน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความหมายของคำศัพท์
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- ยอมรับความคิดเห็น เห็นคุณค่า และชื่นชมความสามารถของผู้อื่น
- กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







พฤ
โจทย์
 สรุปองค์ความรู้
คำถาม:
- นักเรียนจะใช้ และอ่านคำบัน บรร รร อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ศึกษาค้นคว้าและการสรุปองค์ความรู้
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำบัน บรร รร
- Show and Share  แผนภาพความคิด

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
-   หนังสือวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน นักเรียนในเมือง



ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการใช้คำที่มี คำบัน บรร รร อย่างไร
การแต่งเรื่องตามจินตนาการ และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ขั้นสอน
ชง:
- นักเรียนสามารถนำคำบัน บรร รร ไปใช้ได้อย่างไรบ้าง นักเรียนช่วยกันสนทนาแสดงความคิดเห็น
เชื่อม:
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ คำ รร หัน  คำบัน และคำบรร ว่าใช้อย่างไร
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำคำศัพท์ที่มี คำบัน บรร รร ไปใช้ในการสรุปองค์ความรู้อย่างไร
ใช้:
 นักเรียนเขียนสรุปแผนภาพความคิด คำบัน บรร รร

ขั้นสรุป
- ครูสุ่มให้นักเรียน ๔-๕ คน นำเสนอผลงานแผนภาพความคิด
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- วิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้คำบัน บรร รร
- นำเสนอผลงานแผนภาพความคิด

ชิ้นงาน
สรุปองค์ความรู้คำบัน คำบรร คำรร 

ความรู้
การอ่าน การเขียน และการใช้คำบัน บรร รร
ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพความคิด
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการนำเสนอแลกเปลี่ยน
- ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การใช้คำบัน บรร รร
คุณลักษณะ
- เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- ยอมรับความคิดเห็น เห็นคุณค่า และชื่นชมความสามารถของผู้อื่น


ตัวอย่างชิ้นงาน






















































































1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป๔ ได้เรียนรู้คำที่ใช้บันและคำบรร ผ่านการอ่านวรรณกรรมเรื่องสายลมกับทุ่งหญ้าตอน เจ้าด่างจากไปหลังจากที่อ่านเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดทบทวนเรื่องที่อ่าน ตัวละครมีใครบ้าง เหตุการณ์ในเรื่อง ข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมเรื่องสายลมกับทุ่งหญ้า หลังจากนั้นพี่ป.๔ สรุปเรื่องที่อ่านในรูปแบบการ์ตูนช่อง ในวันอังคารครูให้นักเรียนเล่นต่อเพลงขึ้นต้นและลงท้ายด้วยคำบัน หลังจากที่เล่นต่อเพลงเสร็จ ครูมีเพลงคำบันและคำบรร มาให้นักเรียนอ่านจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการเล่นต่อเพลง พี่น้ำอ้อย พี่อั้ม พี่ชมพู่ พี่ซอ พี่บาสและพี่ธาม : คำที่ใช้คำ บัน บรร ค่ะ /ครับ หลังจากนั้นครูให้นักเรียนศึกษาคำที่ใช้ บันและ บรร แตกต่างกันอย่างไร หลังจากที่ค้นคว้าเสร็จครูและนักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกลมเพื่อพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับคำที่ใช้ บันและบรร หลังจากนั้นนักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับคำที่ใช้บันและคำที่ใช้บรรในรูปแบบนิทานช่อง

    ตอบลบ