เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก: นักเรียนเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องราวจากวรรณกรรม “ สายลมกับทุ่งหญ้าได้อย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจความหมายของคำหรือวลีที่ผู้แต่งที่ต้องการสื่อ เชื่อมโยงกับหลักภาษาชนิดของคำและประโยค รวมทั้งสามารถจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน การแต่งเรื่องราวใหม่ การตีความอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เห็นคุณค่าและมีนิสัยรักการอ่าน

week6

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่    Quarter  1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                     ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
สัปดาห์ที่    วันที่  ๑๕ ๑๙  มิถุนายน   ๒๕๕๘                                                                             เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า

......................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :    ตอน เข้าเมือง   ตอน ไปโรงเรียน
สาระสำคัญ :   วิถีชีวิตคนชนบทกับคนเมือง มีความแตกต่างกัน แต่ทั้งสองก็มีข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า เราจะเลือกสิ่งใดนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ตามวิถีชีวิตของแต่ละคนไป
Big  Question :   คนในยุคปัจจุบันจะดำเนินชีวิตให้อยู่แบบพอเพียงได้อย่างไร?

เป้าหมายย่อย : นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนคำสำสวนสุภาษิตคำพังเพยได้อย่างถูกต้อง มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญ วิเคราะห์เรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผลได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์


Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome









จันทร์
โจทย์
- นักเรียนจะใช้สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยอย่างไร
-สำนวน สุภาษิต และคำพังเพยเกี่ยวข้องกับเรา
อย่างไร
คำถาม:
นักเรียนจะเป็นผู้อาศัยที่มีคุณค่าได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม (สิ่งที่ได้จากการอ่านวรรณกรรม)
-
 Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน (สำนวนสั้นๆเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน)
- Show and Share
 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากนิทานและผลงานภาพประกอบเรื่องที่อ่าน
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับตนเอง
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
 - วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า
ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
ขั้นนำ
ครูทักทายนักเรียน
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและให้คำนิยามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านในแง่มุมใหม่ต่างจากเรื่องที่อ่าน
ใช้:
  นักเรียนสรุปแผนภาพโครงเรื่องจากการอ่าน
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
- สรุปเรื่องที่อ่าน ข้อคิดจากเรื่อง และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับตนเอง

ชิ้นงาน
 สรุปแผนภาพโครงเรื่องจากการอ่าน
ความรู้
สามารถพูดอธิบายให้เหตุผลลักษณะของผู้อาศัย และลำดับเหตุการณ์สรุปความเข้าใจเป็นแผนภาพโครงเรื่องได้
ทักษะ
พูดอธิบายลักษณะของตัวละคร ลำดับเหตุการณ์ แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน อธิบายข้อดี ข้อเสีย เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้
- อธิบายข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
เขียนสรุปความเข้าใจและวาดภาพสื่อความหมายประกอบแผนภาพโครงเรื่องได้
คุณลักษณะ
-
 เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน

Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome







อังคาร
โจทย์
 การใช้ สำนวน สุภาษิต คำพังเพยคำถาม:
-
 นักเรียนจะใช้สำนวน สุภาษิต คำพังเพยอย่างไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน(สรุปเป็นสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพย)
- Show and Share
 การแต่งเรื่องโดยใช้ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับใช้ สำนวน สุภาษิต คำพังเพยบรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า
ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
-หนังสือ สำนวน สุภาษิต คำพังเพยของไทย
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่อ่าน
ขั้นสอน
ชง:
 -  ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้จักสำนวน สุภาษิต คำพังเพยใดบ้าง ถ้าจะให้เทียบเคียงเรื่องที่อ่านจะเทียบเคียงได้กับสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยใดนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-  นักเรียนแบ่งกลุ่ม ศึกษาเกี่ยวกับ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

เชื่อม:
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพยและการนำไปใช้ผ่านคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำใช้ได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนช่วยกันเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้ พร้อมทั้งช่วยกันเสนอแนะสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ที่ศึกษาค้นคว้ามาเพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนเลือกแต่งเรื่องจากสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยโดยไม่ซ้ำกัน
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพย และสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ พร้อมทั้งเสนอแนะเกี่ยวกับการนำไปใช้เพิ่มเติม
ภาระงาน
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
- วิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ สำนวน สุภาษิตและคำพังเพย (ใช้อย่างไร ปัจจุบันน่าจะเป็น)

ชิ้นงาน
เขียนแต่งเรื่องใหม่จากสำนวน สุภาษิต คำพังเพย

ความรู้
การใช้สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย

ทักษะ
- คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแต่งเรื่องจากสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการนำเสนอแลกเปลี่ยน
-
 การทำงานร่วมกับผู้อื่น
-
 คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สำนวนสุภาษิต คำพังเพย
-เขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการและการวาดภาพ
คุณลักษณะ
-
 เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- ยอมรับความคิดเห็น เห็นคุณค่า และชื่นชมความสามารถของผู้อื่น

Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome









พุธ
โจทย์
 การใช้ สำนวน สุภาษิต คำพังเพยคำถาม:
-
 นักเรียนจะใช้สำนวน สุภาษิต คำพังเพยอย่างไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไรบ้าง
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share สำนวนสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับตนเอง(ไม่ซ้ำกัน)
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพย
- Show and Share
 การแต่งเรื่องโดยใช้ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับใช้ สำนวน สุภาษิต คำพังเพยบรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า
ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
- หนังสือ สำนวน สุภาษิต คำพังเพยของไทย
ขั้นนำ
ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพยที่เป็นคำที่คิดถึงบ่อยๆให้นักเรียนฟัง นักเรียนร่วมสนทนาแลกเปลี่ยน
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด สำนวน สุภาษิต คำพังเพยใดที่ไม่เหมาะกับปัจจุบัน นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ๖คน แต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์สำนวน สุภาษิต คำพังเพยที่ครูแจกให้กลุ่มละ ๕ สำนวน
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพยที่วิเคราะห์ช่วยกัน ว่ายังสามารถใช้ได้กับปัจจุบันหรือไม่ เพราะเหตุใด ครูและเพื่อนร่วมสนทนาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
ใช้:
- นักเรียนเลือกสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่เหมาะกับตนเอง แล้วแต่งเรื่องพร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม
ขั้นสรุป
- ครูและนักเรียนพูดคุยสรุปสิ่งที่เรียนในวันนี้ เกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพยและการนำไปใช้

ภาระงาน
- วิเคราะห์ สังเคราะห์สำนวน สุภาษิต คำพังเพยที่เหมาะ หรือเกี่ยวข้องกับตนเองเพื่อนำไปใช้ในการแต่งเรื่องใหม่
- แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้า สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
- นำเสนอ สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย

ชิ้นงาน
แต่งเรื่องตามจินตนาการจากสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยที่เลือก
ความรู้
การใช้สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
ทักษะ
-
 คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแต่งเรื่องจากสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
- รสื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการนำเสนอแลกเปลี่ยน
-ทำงานร่วมกับผู้อื่น
 
-
 คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สำนวนสุภาษิต คำพังเพย
- รเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการและการวาดภาพ
คุณลักษณะ
-
 เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- ยอมรับความคิดเห็น เห็นคุณค่า และชื่นชมความสามารถของผู้อื่น

Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








พฤหัสบดี
โจทย์
 สรุปองค์ความรู้
คำถาม:
-
 นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากการอ่านนิทานและสำนวน สุภาษิต คำพังเพย
เครื่องมือคิด :
-
 Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับการสรุปองค์ความรู้
- Round Table สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้สำนวนสุภาษิต คำพังเพย
- Brainstorm การแสดงละคร สำนวน สุภาษิต คำพังเพย
- Show and Share  ละครสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย

บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า
ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากวรรณกรรมเรื่องสายลมกับทุ่งหญ้าตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะแสดงความภูมิใจต่อตนเองอย่างไร เพราะเหตุใดจึงทำเช่นนั้น และจะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้าตอน ผู้ครอบครอง  ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต คำพังเพย และข้อคิดที่ได้จากการอ่านนิทาน
ใช้:
นักเรียนแบ่งกลุ่มสรุปองค์ความรู้เป็น ละคร (ภาพนิ่ง)
ขั้นสรุป
ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงานละครสำนวน สุภาษิต คำพังเพย
ภาระงาน
-วิเคราะห์ และสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา
- สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยผ่านการแสดงละคร

ชิ้นงาน
ละคร (ภาพนิ่งสื่อความหมาย)
ความรู้
การใช้สำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
ทักษะ
-
 คิดสร้างสรรค์สำนวน วุภาษิต 
- สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองานผ่านการแสดงละครำพังเพยเป็นละครบทบาทสมมติ(ภาพนิ่ง)
-
 ทำงานร่วมกับผู้อื่น 
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการนำไปปรับใช้กับตนเอง

คุณลักษณะ
-
 เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- นักสร้างสรรค์ นักออกแบบกิจกรรม


ตัวอย่างชิ้นงาน






1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป๔ ได้เรียนรู้หลักภาษาเรื่องสำนวนสุภาษิตคำพังเพยผ่านการอ่านวรรณกรรมเรื่องสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน เข้าเมื่อง ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกัน อ่านคนเดียว อ่านในใจ หลังจากที่อ่านเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดทบทวนเรื่องที่อ่าน ตัวละครมีใครบ้าง เหตุการณ์ในเรื่อง ข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมเรื่องสายลมกับทุ่งหญ้า หลังจากนั้นพี่ป.๔ สรุปเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง ชั่วโมงต่อมาครูนำบัตรภาพเกี่ยวกับสำนวนสุภาษิตคำพังเพยมาให้นักเรียนดูหลังจากนั้นครูให้นักเรียนวิเคราะห์จากบัตรภาพที่เห็นนักเรียนคิดว่าเป็นสำนวนสุภาษิตคำพังเพยใดเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร มอญ: สอนจระเข้ว่ายน้ำครับคือสอนคนที่เก่งว่ายน้ำอยู่แล้วว่ายน้ำครับ พี่น้ำอ้อย: น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลาคือทีใครทีมันค่ะ พี่ๆป๔ แต่ละคนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบัตรภาพที่ตนเองได้หลังจากที่สนทนาเสร็จแล้วครูให้พี่ๆป๔ นำสำนวนสุภาษิตที่ได้จากบัตรภาพมาแต่เป็นนิทานช่อง ในชั่วโมงสุดท้ายครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกลุ่มล่ะเท่าๆกันเพื่อจับฉลากเลือกบัตรภาพสำนวนสุภาษิตคำพังแล้วนำมาแสดงบทบาทสมมุติให้ครูและเพื่อนๆรับชมหลังจากที่แสดงละครเสร็จครูและนักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกลมเพื่อทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกันในสัปดาห์นี้ครูให้พี่๔ สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ในรูปแบบนิทานช่อง

    ตอบลบ