เป้าหมายหลัก

เป้าหมายหลัก: นักเรียนเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องราวจากวรรณกรรม “ สายลมกับทุ่งหญ้าได้อย่างมีวิจารณญาณ เข้าใจความหมายของคำหรือวลีที่ผู้แต่งที่ต้องการสื่อ เชื่อมโยงกับหลักภาษาชนิดของคำและประโยค รวมทั้งสามารถจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน การแต่งเรื่องราวใหม่ การตีความอธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เห็นคุณค่าและมีนิสัยรักการอ่าน

week5

แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter  1   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                     ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
สัปดาห์ที่  ๕  วันที่  ๘ – ๑๒   มิถุนายน   ๒๕๕๘                                                                           เวลาเรียน ๔  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า

......................................................................................................................................................................................................................................

หน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์  :  วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
สาระสำคัญ :                เราไม่สามารถเป็นเจ้าของสิ่งใดได้ เราเป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้น
Big  Question :            นักเรียนจะเป็นผู้อาศัยที่มีคุณค่าได้อย่างไร

เป้าหมายย่อย :          นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนและนำคำพ้องรูปพ้องเสียงและชนิดของคำไปประยุกต์ใช้ได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟัง การอ่านนิทานไปใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์



Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome









โจทย์
อ่านวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
คำถาม:
นักเรียนจะเป็นผู้อาศัยที่มีคุณค่าได้อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share แผนภาพโครงเรื่อง
-พฤติกรรมสมอง จากการอ่านนิทาน และสรุปนิทานที่อ่าน
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
- วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนสนทนา ทักทาย
ขั้นสอน
ชง:
นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่องพร้อมกัน และอ่านทีละคน)
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
นักเรียนเขียนสรุปตอนจบใหม่
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ขั้นสรุป   
  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเรื่องที่เรียนในวันนี้
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่านนิทาน
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
เขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
ความรู้
คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบผลงานแผนภาพโครงเรื่อง แง่มุมใหม่ที่ได้จาการอ่าน 
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
อ่านออกเสียง การอ่านในใจ
-เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
-เป็นนักอ่าน รักการอ่าน 

Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








โจทย์
ชนิดของคำนาม คำกริยา
คำถาม:
คำนามคืออะไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยคคำนาม คำกริยา
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยคที่มีคำนาม คำกริยา
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำเชื่อม
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพื่อทบทวนเนื้อหาและเรื่องราวของเรื่องที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ใหม่
ขั้นสอน
ชง:
ครูพานักเรียนเล่นเกมต่อบัตรคำครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนได้อะไรจากเกมที่เล่น และเห็นอะไรเหมือนและแตกต่างกันจากบัตรคำ
-  นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
 ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “คำกริยา คำนาม คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง พร้อมกับให้นักเรียนยกตัวอย่างประกอบ
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละคนช่วยกันจำแนกประเภทคำนาม คำกริยา
ใช้:
ครูให้นักเรียนจำแนกคำนาม สิ่งที่มีชีวิต  สิ่งที่ไม่มีชีวิตที่อยู่ในห้องพี่ป.๔
นักเรียนจำแนกชนิดของคำแล้วนำมาแต่นิทานช่อง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ 
ชิ้นงาน
แต่งนิทานชนิดของคำนาม คำกริยา

ภาระงาน
แต่งนิทานชนิดของคำนาม
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมส์จำแนกชนิดของคำนาม คำกริยา
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- การจำแนกชนิดของคำนาม คำกริยา

ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ 
-เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น


Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome








โจทย์
คำนาม คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน  คำสรรพนาม
คำอุธาน
คำถาม:
คำนามคืออะไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Show and Share การแต่งประโยคคำนาม คำกริยา
- Wall Thinking ผลงานการแต่งประโยคที่มีคำนาม คำกริยา
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้คำเชื่อม
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
 ขั้นนำ
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่คำนาม คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน  คำสรรพนาม คำอุธาน

ขั้นสอน
ชง:
ครูเขียนมีบัตรคำใส่ซองให้นักเรียนดู แล้วตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเป็นคำประเภทไหน
 เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละคนช่วยกันจำแนกประเภทคำนาม คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน  คำสรรพนาม คำอุธาน
ใช้:
นักเรียนจำแนกชนิดของคำแล้วนำมาแต่นิทานช่อง
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ 
ภาระงาน
แต่งนิทานชนิดของคำนาม
วิเคราะห์ สนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเล่นเกมส์จำแนกชนิดของคำนาม คำกริยา
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
แต่งนิทานชนิดของคำนาม คำกริยา
ความรู้
- คำศัพท์ใหม่ในเรื่องที่อ่าน
- การจำแนกชนิดของคำ
ทักษะ
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบประโยค
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
- เขียนแต่งประโยค เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ 
-เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น





Day
(วัน)

Input

Process  ( กิจกรรมการเรียนรู้)

Output

Outcome









พฤ
โจทย์
คำนาม คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน  คำสรรพนาม คำอุธาน
คำถาม:
นักเรียนจะใช้ คำนาม คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน  คำสรรพนาม คำอุธาน อย่างไร
เครื่องมือคิด :
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
- Blackboard Share คำศัพท์ใหม่ที่ได้จากการอ่านนิทาน
- Key Questions คำถามกระตุ้นคิดเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรื่องที่เรียนรู้ (ชนิดของคำ)
- Show and Share สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอ่าน
- Round Rubin สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับชนิดของคำ
บรรยากาศ/สื่อ :
- ห้องเรียน
วรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิง
ขั้นนำ  
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเรียนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
ขั้นสอน 
ชง:
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน ผู้ครอบครอง   ตอน ผู้ที่สะสมจะถูกแย่งชิงและการจำแนกชนิดของคำ  จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไร
- นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์แสดงความคิดเห็น
เชื่อม:
ครูและนักเรียนร่วมกันคิดวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจำแนกชนิดของคำ  
ใช้:
นักเรียนสรุปองค์ความรู้ตามความสนใจ
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้
ภาระงาน
พูดคุยแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับชนิดของคำ
นำเสนอผลงาน และทบทวนกิจกรรมที่ทำร่วมกัน

ชิ้นงาน
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตามความสนใจ (นิทาน ความเรียง การ์ตูนช่องฯลฯ)
ความรู้
- นักเรียนเข้าใจและรู้จักชนิดของคำและสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
สามารถจำแนกชนิดของคำได้
คิดสร้างสรรค์ภาพประกอบ
 แผนภาพความคิด ที่ได้จากการอ่าน และการเรียนรู้ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์
สื่อสารกับผู้อื่น การนำเสนองาน 
ทำงานร่วมกับผู้อื่น
-เขียนสรุปองค์ความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
คุณลักษณะ
เคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ ระหว่างการเรียนและร่วมกิจกรรม
- เป็นนักอ่าน รักการอ่าน
- เห็นอกเห็นใจผู้อื่น


ตัวอย่างชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ๆป๔ ได้เรียนรู้หลักภาษาเรื่องชนิดของคำ(คำนาม คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน คำสรรพนาม)ผ่านการอ่านวรรณกรรมสายลมกับทุ่งหญ้า ตอน ผู้ครอบครอง ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงพร้อมกัน อ่านคนเดียว อ่านในใจ หลังจากที่อ่านเสร็จครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดทบทวนเรื่องที่อ่าน ตัวละครมีใครบ้าง เหตุการณ์ในเรื่อง ข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมเรื่องสายลมกับทุ่งหญ้า หลังจากนั้นพี่ป.๔ สรุปเรื่องที่อ่านในรูปแบบแผนภาพโครงเรื่อง ในชั่วโมงต่อมาครูนำบัตรคำคำนาม คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน คำสรรพนาม มาให้นักเรียนแยกประเภทของคำว่าเป็นคำประเภทใดเพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น พี่ป๔ ช่วยกันจัดหมวดหมู่คำจากนั้นครูให้พี่ป๔ นำคำที่จัดหมวดหมู่มาแต่งเป็นประโยค ในชั่วโมงต่อมานักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่มกลุ่มล่ะเท่าๆกันเพื่อศึกษาคำนาม คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน คำสรรพนาม หลังจากที่ค้นคว้าเสร็จครูและนักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกลมเพื่อพูดคุยสนทนากันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ค้นคว้ามาหลังจากนั้นครูให้นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ในรูปแบบนิทานช่อง

    ตอบลบ